Support
RDN เฟอร์นิเจอร์
092-760-5230 , 0629095529
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

กระจก

rdn.246@gmail.com | 06-11-2557 | เปิดดู 3512 | ความคิดเห็น 0

กระจก วัสดุที่ต้องมีใช้งานกับเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน

ไม่ว่าจะเป็นตู้เอกสารทั้งที่เป็นตู้เหล็กหรือเป็นตู้ไม้ก็ตาม โดยส่วนมากแล้วก็จะได้รับการออกแบบให้มีการนำเอากระจกเข้ามามีส่วนร่วมเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ด้วยคุณสมบัติที่โปร่งใสมองผ่านทะลุได้ทำให้สามารถที่จะนำเอามาประยุกต์ใช้ได้กับเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ยิ่งในปัจจุบันนั้นยังมีรูปแบบผลิตที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งประเภทและคุณลักษณะที่แตกต่างกันออกไป

 

ประเภทของกระจก

กระจกนั้นก็จะมีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภทตามที่ได้กล่าวมา แต่ถ้าแบ่งตามผลงานวิจัยของกลุ่มวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก็สามารถที่จะแบ่งตามประเภทได้ดังนี้

  1. กระจกธรรมดา (Float Glass)
  2. กระจกอบความร้อน (Heat Treated Glass)
  3. กระจกเคลือบผิว หรือกระจกสะท้อนแสง (Surface Coated Glass)
  4. กระจกดัดแปลง
  5. กระจกอื่นๆ

 

กระจกธรรมดา (Float Glass)

 

เป็นกระจกที่ได้จากกระบวนการผลิตโดยตรง ซึ่งเป็นกระจกพื้นฐานโดยทั่วไป สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ กระจกใส และกระจกสี

 

  • กระจกใส (Clear Glass) : จะมีลักษณะโปร่งแสงสามารถมองทะลุผ่านได้อย่างชัดเจนและให้ภาพสะท้อนที่ได้ออกมานั้นสมบูรณ์ไม่บิดเบี้ยว กระจกชนิดนี้จะยอมให้แสงผ่านไปได้ประมาณ 75-92 % ของแสงที่มาตกกระทบ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะขึ้นอยู่กับความหนาของกระจกด้วย

  • กระจกสี (Tinted Glass) : หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อคือกระจกดูดกลืนความร้อน (Heat Absorbing Glass) ในกระบวนการผลิตนั้นจะผสมโลหะออกไซด์เข้าไปในส่วนผสม (Batch Mix) ในขั้นตอนการผลิต  ทำให้เกิดเป็นสีสันต่างๆ ขึ้นมา รวมถึงคุณสมบัติในการดูดกลืนความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมากระทบที่ผิวของกระจกและลดปริมาณแสงที่ผ่านกระจก ปริมาณแสงที่จะทะลุผ่านกระจกสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี ความหนาและสีของกระจก

 

กระจกอบความร้อน (Heat Treated Glass)

 

เป็นกระจกใสที่นำมาผ่านกระบวนการปรับแต่งคุณภาพของเนื้อกระจกให้มีคุณสมบัติที่แข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการรับแรงกระทำที่มาจากภายนอกได้ดีขึ้น โดยกระจกอบความร้อนจะแบ่งตามกรรมวิธีการผลิตออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

 

  • กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) : กรรมวิธีนี้จะเป็นการนำเอากระจกไปผ่านกระบวนการเทมเปอริ่ง (Tempering) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับผิวของกระจก โดยวิธีการนั้นจะเป็นการสร้างให้เกิดชั้นของแรงอัด (Compressive Stress) ให้เกิดขึ้นที่ผิวของกระจกเพื่อให้สามารถที่จะต้านแรงที่มากระทำจากภายนอกได้ โดยการให้ความร้อนกับกระจกที่อุณหภูมิที่สูงกว่าจุดอ่อนตัว (Softening Point) ของแก้วเล็กน้อยโดยมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 650-700 องศาเซลเซียส และจากนั้นก็ทำให้เกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็วที่ผิวของกระจก โดยการใช้ลมเย็นเป่า (Air Quenching) ผลที่เกิดของอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างผิวนอกกับส่วนกลางของกระจก ส่งผลให้เกิดชั้นของแรงอัดขึ้นที่ผิวด้านนอกของแผ่นกระจกทั้ง 2 ด้าน โดยจะประกบชั้นส่วนกลางลักษณะเหมือนแซนด์วิช และชั้นที่ผิวของกระจกทั้ง 2 ด้านนี้ จะสามารถที่จะต้านแรงจากภายนอกได้เพิ่มมากขึ้นจากกระจกธรรมดาถึงประมาณ 4 เท่า แต่มีข้อจำกัดอยู่ตรงที่ว่า ก่อนที่จะนำกระจกไปผ่านกระบวนการเทมเปอริ่งนั้น จะต้องตัดแผ่นกระจกให้ได้ตามขนาดก่อนเพราะกระจกที่ผ่านกระบวนการเทมเปอริ่งแล้วนั้นเมื่อนำไปตัดจะแตกละเอียดทั้งแผ่น
  • กระจกฮีตสเตรงเทน (Heat Strengthen Glass) : โดยกรรมวิธีการผลิตนั้นก็จะมีลักษณะที่คล้ายกับกระบวนการเทมเปอริ่ง คือจะให้ความร้อนแก่ผิวกระจกเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่ขั้นตอนการทำให้เย็นตัวลงนั้น กรรมวิธีการผลิตแบบฮิตสเตรงเทน จะค่อยๆ ปล่อยให้อุณหภูมิที่แผ่นกระจกค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ จำทำให้ความแข็งแกร่งของผิวกระจกนั้นจะมีน้อยกว่าการเทมเปอริ่ง

 

 

กระจกเคลือบผิว (Surface Coated Glass)

 

 

เป็นกระจกธรรมดาที่นำไปผ่านกระบวนการเคลือบผิวด้วยโลหะบนผิวของกระจกเพื่อให้เกิดการสะท้อนแสงและความร้อนที่ได้รับมาจากแสงอาทิตย์เพื่อนำไปใช้ในการประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และก็เพื่อความสวยงาม กระจกเคลือบผิวจะแบ่งประเภทตามรูปแบบของการเคลือบผิวได้เป็น 2 ประเภท คือ

 

1. แบ่งตามประเภทของเครื่องเคลือบผิวกระจกที่มีใช้อยู่ในประเทศไทย ก็จะแบ่งได้เป็น 2 บริษัท ดังนี้

  • แบบแอร์โค่ (AIRCO) : กรรมวิธีการเคลือบผิวของแอร์โค่นั้นจะใช้ไทเทเนียมบริสุทธิ์ (Ti) เป็นโลหะหลักที่ใช้ในการเคลือบผิวของกระจก สามารถที่จะเคลือบให้มีสีสัน ภาพลักษณ์ และคุณสมบัติในการประหยัดพลังงานที่แตกต่างกัน
  • แบบเลย์โบลด์ (LEYBOLD) : เป็นการเคลือบผิวของกระจกโดยใช้ดีบุกบริสุทธิ์เป็นหลักในการเคลือบผิวกระจก ในเรื่องคุณสมบัติในการประหยัดพลังงานนั้นจะใกล้เคียงกับแบบแอร์โค่ แต่สีสันที่ได้นั้นจะแตกต่างออกไป

 

2. แบ่งตามเทคนิคในการเคลือบผิวกระจก โดยจะแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

  • เคลือบแบบสุญญากาศ (Vacuum Deposition or Sof Coating) : จะใช้การพ่นโลหะออกไซด์บางชนิดบนผิวด้านใดด้านหนึ่งของแผ่นกระจก กระแสไฟฟ้าที่ส่งผ่านเข้าไปนั้นจะทำปฏิกิริยาทำให้โลหะเกาะบนผิวของกระจก แต่การเคลือบด้วยวิธีนี้ สารที่เคลือบผิวลงไปนั้นจะถูกขูดออกได้ง่าย แต่มีข้อดีตรงที่ว่าสารที่เคลือบลงไปนั้นจะเคลือบลงไปทุกอณูของผิวกระจก
  • เคลือบแบบไพโรลิทิค (Pyrolitic Deposition or Hard Coating) : กระจกที่จะทำการเคลือบนั้นจะยังอยู่ในลักษณะที่เป็นของเหลว โลหะออกไซด์ที่ใช้เคลือบนั้นจะกระจายแทรกซึมเข้าไปในเนื้อของกระจกด้วย ถึงแม้ว่าโลหะออกไซด์จะไม่สามารถที่จะกระจายไปได้ทั่วทุกอณูพื้นผิวของกระจกได้อย่างสม่ำเสมอ แต่ก็มีความทนทานและแข็งแรงมากกว่าการเคลือบแบบสุญญากาศ

 

3. แบบกระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์ (Solar Reflective Glass)

เป็นกระจกธรรมดาที่ผ่านการเคลือบผิวด้วยโลหะออกไซด์ ซึ่งจะเน้นคุณสมบัติในการสะท้อนแสง สามารถที่จะสะท้อนแสงอาทิตย์ได้บางส่วน มีค่าในการสะท้อนแสงที่ค่อนข้างสูง ความโปร่งแสงค่อนข้างน้อย มีสีสันที่สวยงามและมีหลายสีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสีที่นำมาใช้และรูปแบบของการเคลือบ

 

4. กระจกที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ (Low-E Glass)

เป็นกระจกที่ผ่านการเคลือบผิวด้วยสารโลหะโดยมีโลหะเงินบริสุทธิ์เป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อให้ได้ผิวเคลือบมีค่าการคายรังสี (Emissivity) ที่ต่ำมาก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดลักษณะเด่นในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณสมบัติในการประหยัดพลังงาน กระจกในลักษณะนี้ยังคงมีความใส ให้ค่าแสงที่ส่งผ่านเข้ามามากและมีค่าการสะท้อนแสงน้อย และมีค่าการคายรังสีน้อยมาก ดังนั้นจึงเป็นกระจกที่มีการแผ่รังสีความร้อนออกจากตัวได้น้อย จึงถูกนำไปใช้งานด้านกระจกที่เป็นฉนวนกันความร้อนเป็นหลัก

 

ความคิดเห็น

วันที่: Sun Apr 28 03:52:28 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

สนใจสั่งซื้อสามารถ Email:rdn.246@gmail.com ตลอด 24 ชม.

ID: 0927605230

ติดต่อ 094-153-1653